หัวข้อน่าสนใจ
รักษาพยาบาลฟรี ไม่ต้องสำรองจ่าย!
ประกันสังคมมาตรา 33 สำหรับพนักงานประจำ ท่านสามารถสิทธิรักษาพยาบาลฟรี ไม่ต้องสำรองจ่ายได้นะครับ บางคนอาจจะยังไม่รู้ ต้องเกริ่นก่อนครับว่า ตัวผมเองตั้งแต่ทำงานมาไม่เคยเหลียวแลประกันสังคมเลย รู้แต่ว่าจะโดนหักไปในแต่ละเดือนด้วยจำนวณเงิน 750 บาท มองผ่านๆใน สลิปเงินเดือนแล้วก็ช่างมัน มาเป็นเวลาหลายปี เพราะคิดว่าตัวเองไม่ได้จำเป็นต้องใช้ ไม่ได้มีความสำคัญ เจ็บป่วยก็เข้าเอกชนสิ จ่ายได้ บริการดีกว่า รวดเร็วกว่า อย่างกับโรงแรม แถมบริษัทที่ทำงานอยู่ก็มีประกันกลุ่มให้อีกช่วยทุ่นค่าใช้จ่ายไปได้
แต่เมื่อวิกฤติโควิดมาถึง รายได้ลดลง จนถึงจุดที่ได้หันกลับมามองตัวเองว่าตอนนี้ถ้าป่วยเราอาจจะเข้าโรงพยาบาลเอกชนไม่ได้แล้วนะ เงินที่มีอยู่ก็ต้องเก็บไว้ใช้กับสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะถ้าเป็นกรณีหนักๆ ยังไงเงินก็ไม่พอ แล้วถ้าเกิดป่วยขึ้นมาจะทำยังไงล่ะ เราต้องมีหลักประกันอะไรบางอย่างใว้สำหรับเวลาจำเป็น
รีวิว:4 บริษัทประกันภัย/ประกันสุขภาพ ที่ดีที่สุด
รีวิว:ประกันโรคมะเร็ง ไม่เคลมคืนเร็ว จาก Cigna เบี้ยถูก คืนเงินเร็ว!
ใครหลายๆคนอาจจะลืมไปว่า เรามีประกันสังคมไงล่ะ ด้วยสถานะที่เป็นพนักงานประจำ ผมก็เพิ่งมารู้ว่าสิทธิของผม เรียกว่าผู้ประกันตนมาตรา33 พอมาดูสิทธิประโยชน์ที่มีแล้ว ทำให้รู้ว่าผมละเลยหลายสิ่งหลายอย่างไปมากๆในช่วงชีวิตการทำงานหลายปีที่ผ่านมา
ทำ IF 16/8 ลดความอ้วนง่ายๆไม่ต้องออกกำลังกาย
ผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือที่หลายๆคนเรียกกันติดปากว่าประกันสังคมมาตรา 33 นั้นจริงๆแล้วก็คือสิทธิประกันสังคมสำหรับพนักงานบริษัทเอกชนทั่วๆไปนี่แหละครับ ซึ่งเป็นประกันสังคมภาคบังคับที่นายจ้างหรือบริษัทที่เราทำงานอยู่จะต้องทำเรื่องให้เราเข้าเป็นผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่นั้นๆ
ลองหันมาสนใจด้านการเงินการลงทุน
เพราะอะไรราคาบิทคอยน์ถึงได้พุ่งขึ้นแรงขนาดนี้?
>>บิทคอยน์ คืออะไร มีข้อดีข้อเสียยังไง เข้าใจง่ายสำหรับมือใหม่
คุณสมบัติของประกันสังคมมาตรา 33 ปี 2564
>เป็นผู้มีรายได้จากนายจ้างเอกชน มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี
>ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนภายใน 30 วันนับแต่วันเข้าทำงาน
สิทธิประกันสังคมมาตรา33 พศ.2564
สำหรับพนักงานบริษัท จะได้รับความคุ้มครองครบทั้ง 7 ประเภทของสิทธิประกันสังคมครับ ถือว่านี่คือข้อดีอย่างหนึ่งของการเป็นพนักงานลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชน หรือนายจ้างทั่วๆไป ซึ่งสิทธิต่างๆมีดังนี้ครับ (อยากดูสิทธิข้อไหนคลิกที่ข้อนั้นได้เลยครับ)
- คุ้มครองกรณีเจ็บป่วย
- ประกันสังคมสำหรับทำฟัน
- คุ้มครองกรณีคลอดบุตร
- คุ้มครองกรณีทุพพลภาพ
- คุ้มครองกรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต
- ให้เงินสงเคราะห์บุตร
- เงินชราภาพ
- คุ้มครองกรณีว่างงาน
1.คุ้มครองกรณีเจ็บป่วย
รักษาพยาบาลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่ต้องสำรองจ่ายเงินเอง แต่เราจะต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลที่เราเลือกไว้ตามสิทธิ(หรือในเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้น)เท่านั้นนะครับถึงจะแน่ใจได้ว่าไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลต่างๆด้วยตัวเอง
ประกันสังคม ใช้ต่างโรงพยาบาลได้มั้ย?
อาจจะมีในบางกรณีที่เราเจ็บป่วยและต้องไปหาหมอเพื่อรับการรักษากับโรงพยาบาลอื่นๆซึ่งไม่ใช่โรงพยาบาลที่เราเลือกไว้ตามสิทธิ์ หรือไม่ได้อยู่ในเครือข่ายของโรงพยาบาลตามสิทธิ์ของเรา โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วยตัวเองไปก่อนครับ แล้วถึงสามารถนำมาเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมได้ ก็จะมีอัตราและเงื่อนไขกำหนดไว้ตามนี้ครับ
เบิกประกันสังคมต่างโรงพยาบาล
โรงพยาบาลเอกชน
ในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถเบิกได้ตามนี้ครับ
ผู้ป่วยใน ร.พ. เอกชน:
รักษาพยาบาลประกันสังคมต่างโรงพยาบาลเอกชนสามารถเบิกได้ดังนี้:
>ค่ารักษาพยาบาล(ไม่ใช่ห้องไอซียู(ICU)) เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท
>ค่าห้อง ค่าอาหาร เบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท
>ถ้าเข้าห้อง ICU สามารถเบิกค่าห้อง ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาลได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท
>ผ่าตัดใหญ่ ถ้าจำเป้นต้องมีการผ่าตัดใหญ่ เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000-16,000 บาท ตามระยะเวลาการผ่าตัด
>ค่าฟื้นคืนชีพ(รวมค่ายาและอุปกรณ์) เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท
>ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการและ/หรือเอ็กซเรย์ เบิกได้ไม่เกินรายละ 1,000 บาท
เบิกประกันสังคมต่างโรงพยาบาล: “โรงพยาบาลรัฐ“
ในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์คืนได้ ไม่จำกัดจำนวณครั้ง
- ผู้ป่วยนอก ร.พ.รัฐ: สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น
- ผู้ป่วยใน ร.พ. รัฐ: สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง (ยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหาร เบิกได้ไม่เกิน 700 บาทต่อวัน)
สิทธิประกันสังคมสำหรับทำฟัน 2563
นอกจากการรักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยแล้ว กองทุนประกันสังคมยังให้สิทธิในการทำฟันด้วยครับ
ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนและผ่าฟันคุด : สามารถใช้ประกันสังคมได้ครับ โดยจ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 900 บาท ต่อปี
เบิกค่าทำฟันปลอม ประกันสังคม 2563
หลายๆคนมีความจำเป็นต้องใส่ฟันปลอมหรือฟันเทียม ท่านสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ครับโดยแบ่งเป็นเงื่อนไขดังนี้
ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน ประกันสังคมจะจ่ายให้สำหรับค่าบริการทางการแพทย์และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม ดังนี้ครับ
- ใส่ฟันเทียม 1-5 ซี่ ประกันสังคมจ่ายตามจริงตามความจำเป็น ไม่เกิน 1,300 บาท
- ใส่ฟันเทียม มากกว่า 5 ซี เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 1,500 บาท
- ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก ประกันสังคมจะจ่ายให้สำหรับค่าบริการทางการแพทย์และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม ดังนี้ครับ
- ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบน “หรือ” ล่าง ประกันสังคมจ่ายตามจริงไม่เกิน 2,400 บาท
- ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบน “และ” ล่าง ประกันสังคมจ่ายตามจริง 4,400 บาท
2.ค่าคลอดบุตร
ผู้ประกันตนจะได้รับค่าคลอดบุตรไม่จำกัดจำนวณครั้งครับ โดยแบ่งเป็นสิทธิดังนี้
สิทธิค่าคลอดบุตร ผู้ประกันตนหญิง :
สามารถไปคลอดบุตรที่สถานพยาบาลที่ไหนก็ได้ แล้วนำสำเนาสูติบัตรของบุตร สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของตนเองมาเบิกเงินค่าคลอดบุตรได้ที่สำนักงานประกันสังคม ประกันสังคมจพเหมาจ่าย 13,000 บาทต่อการคลอดบุตร 1 ครั้งครับ และสำหรับผู้ประกันตนหญิงจะได้รับเงินเพิ่มเติมด้วยครับคือ เงินสงเคราะห์หยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เนื่องจากสุภาพสตรีจะต้องมีการหยุดงานเพื่อมาคลอดบุตร โดยจะได้รับเงินส่วนนี้ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างครับ (เฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน) แต่เงินสงเคราะห์นี้จะเบิกได้แค่ 2 ครั้งเท่านั้นนะครับ
สิทธิค่าคลอดบุตร ผู้ประกันตนชาย :
ผู้ประกันตนชายก็สามารถเบิกได้นะครับ ไม่ว่าจะเป็นภริยาที่จดทะเบียนสมรสหรืออยู่กินกันฉันสามีภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็ตาม เอกสารที่จะต้องใช้เพื่อเบิกมีดังต่อไปนี้ครับ
- สำเนาสูติบัตรของบุตร
- สำเนาทะเบียนสมรส(ถ้ามี)
- หนังสือรับรองกรณีไม่มีทะเบียนสมรส(เฉพาะคนที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสนะครับ)
นำเอกสารดังกล่าวที่ต้อใช้มาเบิกเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายก็จะได้รับ 13,000 บาทต่อการคลอด1ครั้งครับ
3.สิทธิประกันสังคมกรณีทุพพลภาพ
ในกรณีที่ผู้ประกันตนเกิดกลายเป็นบุคคลทุพพลภาพ ท่านจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้และประกันสังคมจะครอบคลุมค่าบริการทางการแพทย์ ค่ารถพยาบาลหรือพาหนะสำหรับบริการทางการแพทย์ด้วยครับ
เงินทดแทนการขาดรายได้ จะแบ่งเป็น 2 กรณีครับ อยู่ที่ระดับความสุญเสียรุนแรงหรือไม่รุนแรง
ทุพพลภาพระดับความสูญเสียไม่รุนแรง
- ทุพพลภาพจนทำให้ความสามารถในการทำงานลดลง :ไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติหรือทำงานอื่นใดได้ มีสิทธิรับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างรายวัน ตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถทำงานได้แต่ไม่เกิน 180 เดือน
- ทุพพลภาพจนทำให้ความสามารถในการทำงานลดลง ไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติและมีรายได้ลดลงจากเดิม มีสิทธิรับเงินทดแทนการขาดรายได้ในส่วนที่ลดลงแต่ไม่เกินร้อยละ 30 ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกินระยะเวลา 180 เดือน
ทุพพลภาพระดับความสูยเสียรุนแรง :
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน ตลอดชีวิต
ค่าบริการทางการแพทย์ สำหรับสิทธิทุพพลภาพ
โรงพยาบาลรัฐ
ผู้ป่วยนอก : ได้รับค่าบริการทางการแพทย์เทาที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
ผู้ป่วยใน : เข้ารับบริการทางการแพทย์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สถานพยาบาลจะเบิกจากประกันสังคมเอง
โรงพยาบาลเอกชน
ผู้ป่วยนอก: ได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 2,000 บาท
ผู้ป่วยใน: ได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท
และ จะได้รับค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพเข้ารับบริการทางการแพทย์ เดือนละ 500 บาท
4.สิทธิประกันสังคมกรณีตาย
จะได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท ได้รับเงินสงเคราะห์ตามเงื่อนไขตามระยะเวลาที่ผู้ประกันตนจ่ายประกันสังคมมาครับ ดังนี้
1.จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 36 เดือนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 120 เดือน จะได้รับเงินสงเคราะห์อัตราร้อย ละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน
2.จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 120 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน
5.กรณีสงเคราะห์บุตร
ปี 2564 มีการเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร ในกรณีที่ผู้ประกันตนมีบุตรและต้องสงเคราะห์บุตร จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรในลักษณะเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาท ต่อบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 1 คน อายุไม่เกิน 6 ปี คราวละไม่เกิน 3 คน(แต่ต้องส่งเงินประกันสังคมมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือนในระยะเวลา 36 เดือนที่ผ่านมานะครับ)
6.กรณีชราภาพ
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพหรือเงินบำเหน็จชราภาพ ตามเงื่อนไขต่อไปนี้ครับ
เงินบำนาญชราภาพ(จ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต)
จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน ได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
จ่ายเงินสมทบมามากกว่า 180 เดือน เพิ่มอัตราเงินบำนาญจากข้อ 1 ขึ้นอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน
เงินบำเหน็จชราภาพ(จ่ายเป็นก้อนครั้งเดียว)
หากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาไม่ถึง 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตนที่จ่ายมา(เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ)
หากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายมาและรวมกับส่วนที่นายจ้างสมทบมา(เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ)
7.กรณีว่างงาน
ถ้าผู้ประกันตนเกิดตกอยู่ในสภาพว่างงาน จะได้รับสิทธิประกันสังคมตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ครับ
1.ถูกเลิกจ้าง :
จะได้รับเงินทดแทนระหว่างที่ว่างงานร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน
2.ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มี่กำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน :
จะได้รับเงินทดแทนระหว่างที่ว่างงาน ร้อยละ 30 ของค่าจ้างครั้งละไม่เกิน 90 วัน
3.ไม่ได้ทำงานจากเหตุสุดวิสัย :
จะได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน
โดยที่ผู้ประกันตนจะต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรางานตัวภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้าง,ลาออก,หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง นะครับ เพื่อไม่ให้เสียสิทธิ
เป็นยังไงกันบ้างครับ พอเรามาลงรายละเอียดกันจริงๆแล้ว สิทธิประกันสังคมสำหรับผู้ประกันตนมาตรา33 ครอบคลุมหลากหลายและมีประโยชน์ไม่น้อยเลยทีเดียว ก็เป็นอีก 1 หลักประกัน เป็นอีก1ตัวช่วยสำหรับการรักษาพยาบาลเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยนะครับ
- ประกันสังคมมาตรา 39 ฟรีแลนซ์/คนที่ลาออกจากงานประจำ/โดนให้ออกจากงาน
- ประกันสังคมมาตรา 40 หลักประกันสำหรับคนทำอาชีพอิสระ พ่อค่า แม่ค้า
- สิทธิบัตรทอง 30 บาท รักษาทุกโรค|หลักประกันสุขภาพสำหรับคนไทยทุกคน
- 4 บริษัทประกันภัย/ประกันสุขภาพที่ดีที่สุด 2021 !
สำหรับบางท่าน โดนให้ออกจากงาน แต่ยังอยากจะรักษาสิทธิประกันสังคมไว้อยู่ ก็สามารถทำได้นะครับ โดยเมื่อออกจากงานมาแล้วท่านจะกลายเป็นผู้ประกันตนในมาตรา39 ลองอ่านรายละเอียดได้ตามลิงค์นี้ครับ
ลาออก/โดนให้ออกจากงาน รักษาสิทธิประกันสังคมไว้อย่างไร?
ออฟฟิศซินโดรม,ปวดหลัง ใช้สิทธิประกันสังคมได้มั้ย?
หลายๆคนที่เป็นพนักงานประจำ ทำงานอยู่ในออฟฟิศ หรือแม้แต่พนักงานที่ทำงานอยู่ในไลน์การผลิตต่างๆ ก็อาจจะเจอกับปัญหาทางสุขภาพที่เกิดจากการทำงาน เช่น ปวดหลัง,ปวดคอ,ข้อมืออักเสบ ซึ่งโรคที่เกิดจากการทำงานเหล่านี้สามารถใช้สิทธิประกันสังคมในการรักษาพยาบาลได้ครับ โดยสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่เราลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนไว้และมีคลีนิกโรคจากการทำงานได้ครับ (หรือในกรณีที่สถานพยาบาลที่ลงทะเบียนสิทธิไว้ไม่มีคลินิคโรคจากการทำงานก็สามารถยื่นเรื่องกับสำนักงานประกันสังคมเพื่อขอเอกสารส่งตัวเข้ารับการรักษาที่คลินิคโรคจากการทำงานในพื้นที่ของท่านได้) เมื่อเราเข้าไปติดต่อหาหมอ และได้รับการตรวจวินิฉัยว่าเป็นโรคจากการทำงานแล้ว ก็สามารถรับการรักษาพยาบาลได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
ประกันสังคมทำฟัน 1,200 บาทต่อปี พ.ศ.2564 ?
สำหรับข่าวที่หลายๆคนได้ยินกันมาว่าประกันสังคมจะเพิ่มวงเงินทำฟันเป็น 1,200 บาทต่อปีนั้น จริงๆแล้วยังไม่มีนโยบายนี้ออกมาอย่างเป็นทางการนะครับ เป็นเพียงแค่มีหน่วยงานนึงยกประเด็นนี้ขึ้นมาเพื่อเสนอต่อสำนักงานประกันสังคมว่าจะขอเพิ่มวงเงินสำหรับทำฟันเป็น 1,200 บาทต่อปี เท่านั้น ยังไม่ได้มีการประกาศออกมาเป็นนโยบายที่ใช้จริง ก็คือปัจจุบันค่าทำฟันยังอยู่ที่ 900 บาทต่อปีเหมือนเดิมครับ
ประกันสังคม 2564 หักกี่เปอร์เซ็นต์ เราต้องจ่ายเดือนละเท่าไหร่
การจ่ายเงินสมทบประกันสังคมสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 นี้ พนักงานทุกคนจะโดนหักออกจากเงินเดือนในแต่ละเดือนโดยอัตนโนมัติครับ โดยนายจ้างจะหักไว้และนำส่งสำนักงานประกันสังคมไปในแต่ละเดือน อัตราการหักเงินเดือนเพื่อนำส่งประกันสังคมจะหัก 5% จากรายได้ต่อเดือนของเราครับ โดยที่เงินเดือนขั้นต่ำที่เอามามาคิดหักคือ 1,650 บาท และจะคิดจากเงินเดือนสูงสุดที่ไม่เกินเดือนละ 15,000 บาทนั่นเอง หมายความว่า
ถ้าเราเงินเดือน 1,700 บาท เราจะถูกหักเงินเข้ากองทุนประกันสังคม = 85 บาท
ถ้าเราเงินเดือน 12,000 บาท เราจะถูกหักเงินเข้ากองทุนประกันสังคม = 600 บาท
ถ้าเราเงินเดือน 15,000 บาท เราจะถูกหักเงินเข้ากองทุนประกันสังคม = 750 บาท
ถ้าเราเงินเดือน 16,000 บาท เราจะถูกหักเงินเข้ากองทุนประกันสังคม = 750 บาท
ถ้าเราเงินเดือน 20,000 บาท เราจะถูกหักเงินเข้ากองทุนประกันสังคม = 750 บาท
จะเห็นว่า ไม่ว่าเราจะเงินเดือนเยอะขนาดไหน เราก็จะถูกหักค่าประกันสังคมไม่เกิน 750 บาทต่อเดือนครับ แต่ถ้าเงินเดือนน้อยกว่า 15,000 เงินที่จ่ายประกันสังคมก็จะลดหลั่นกันไปตามอัตราส่วนครับ
6 thoughts on “สิทธิประกันสังคมมาตรา33 ปี 2564”