ประกันสังคม มาตรา39 : ในช่วงนี้เพื่อนๆหลายๆคนอาจจะกำลังประสบปัญหาโดนให้ออกจากงาน หรือไม่ก็มีมาตรการบีบให้ออกต่างๆนาๆ แต่ชีวิตยังต้องดำเนินต่อไปและความเจ็บป่วยฉุกเฉินต่างๆก็ยังพร้อมที่จะถาโถมใส่เราเมื่อไหร่ก็ได้ ประกันสุขภาพที่เคยได้จากสวัสดิการบริษัทก็ไม่มีแล้ว ประกันสุขภาพที่เคยส่งเบี้ยแพงๆต่อปีก็อาจจะต้องตัดออกไปเพราะต้องประหยัดค่าใช้จ่าย
แล้วจะทำยังไงให้ชีวิตยังคงมีหลักประกันสำหรับเรื่องสุขภาพ ซึ่งบอกได้เลยว่าสำคัญที่สุด หลายๆคนคงมีคำถามนี้อยู่ในใจกันนะครับ วันนี้เราจะมาดูกันว่าเราจะทำยังไงกับสิทธิประกันสังคมของเราได้บ้างเมื่อเราตัดสินใจที่จะออกมาจากงานประจำ
- รีวิวประกันภัยชั้น 1 ผ่อนได้ ไม่ต้องใช้บัตรเครดิต การันตี้เบี้ยถูกที่สุด
- บริษัทประกันภัย(รถ,สุขภาพ,เดินทาง)ที่ไหนดีที่สุด?
ลาออก หรือโดนให้ออกจากงาน ยังสามารถใช้ประกันสังคมได้มั้ย
สิทธิประกันสังคมของเรายังสามารถรักษาไว้ได้ครับ โดยที่เราจะเปลี่ยนสถานะจากผู้ประกันตนในมาตรา 33 กลายมาเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 แทนครับ เนื่องจากสถานะเราเปลี่ยนจากพนักงานประจำหรือลูกจ้างมาเป็นคนที่ไม่ได้ใช้แรงานอยู่ในระบบอีกต่อไป โดยที่เราจะต้องแจ้งสำนักงานประกันสังคมและจ่ายเงินสมทบตามที่กำหนดครับ เพื่อรักษาสิทธิแลความคุ้มครองไว้ แต่หากว่าสิทธิประกันสังคมของท่านขาดลง หรือต้องการเปลี่ยนไปใช้สิทธิอื่น ท่านสามารถไปใช้สิทธิบัตรทองแทนได้ครับ
รีวิว ลดความอ้วนด้วยการทำ IF 16/8 ไม่ต้องออกกำลังกาย ไม่ทรมาน
ประกันสังคม มาตรา 39 คืออะไร
อย่างที่ได้ชี้แจงไปเบื้องต้นว่า ประกันสังคม มาตรา39 ประกันสังคมภาคสมัครใจ สำหรับผู้ประกันตนที่มีเหตุต้องเปลี่ยนสถานะจากการเป็นพนักงานประจำมาทำธุรกิจส่วนตัว หรือโดนให้ออกจากงาน หรือหมดสัญญาก็แล้วแต่ โดยที่นายจ้างไม่ได้ทำหน้าที่ส่งเงินสมทบให้อีกต่อไป ถ้าเรายังอยากได้รับสิทธิและความคุ้มครองจากประกันสังคมอยู่เราต้องทำหน้าที่ส่งเงินสมทบต่อเองในแต่ละเดือนครับ
ประกันสังคม มาตรา39 จ่ายเดือนละเท่าไหร่
สำหรับคนที่ลาออกมาแล้วและยังอยากจะรักษาสิทธิผู้ประกันตนไว้เหมือนเดิม ก็เป็นเรื่องดีนะครับ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้มีประกันสุขภาพ หรือมีเงินเก็บก้อนใหญ่เผื่อสำหรับการรักษาพยาบาลเวลาเจ็บป่วยหรือต้องการได้รับบริการทางการแพทย์ต่างๆ การเลือกที่จะส่งเงินสมทบประกันสังคมต่อด้วยตัวเองก็เป็นเรื่องที่ควรทำครับ เพราะเราก็ไม่รู้ว่าเราจะเจ็บป่วยหรือมีเหตุฉุกเฉินเมื่อไหร่ โดยท่านจะต้องจ่ายเงินสมทบเข้าประกันสังคมเป็นจำนวณเดือนละ 432 บาท ครับและจะได้รับความคุ้มครองทั้งหมด 6 รายการหลัก ดูแล้วเป็นอะไรที่คุ้มอยู่เหมือนกันนะครับ เพราะเดี๋ยวนี้ค่ารักษาพยาบาลแพงมาก โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องหรือมียาที่จะต้องกินต่อเนื่อง แค่นี้ก็น่าจะมีค่าใช้จ่ายเกินเดือนละ 432 บาทแล้วละครับ ทำไว้ไม่เสียหายแน่นอน
คุณสมบัติของผู้ประกันตนในประกันสังคม มาตรา39
การจะเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 นั้นมีอยู่ 2 เงื่อนไขครับ คือ
1.เคยเป็นลูกจ้าง-พนักงานบริษัทเอกชน(ก็คือ เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา33นั่นเอง) และต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และ ออกจากงานมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน
2.ต้องไม่ได้รับประโยชน์หรือเงินทดแทนกรณีทุพพลภาพของประกันสังคม
ประกันสังคม มาตรา39 คุ้มครองอะไรบ้าง
ผู้ประกันตนในมาตรา39 จะได้รับความคุ้มครองทั้งหมด 6 กรณีครับ ซึ่งไกล้เคียงและแทบไม่ต่างกันกับของพนักงานประจำเลย(มาตรา33) คือ
(สำหรับรายละเอียดความคุ้มของแต่ละกรณี คลิกอ่านตามแต่ละหัวข้อได้เลยครับ)
ความคุ้มครองของประกันสังคม มาตรา39 ทั้ง 6 ข้อนี้จะมีสิทธิ,รายละเอียดและเงื่อนไขทุกอย่างเหมือนประกันสังคมภาคบังคับ(มาตรา33สำหรับพนักงานบริษัท) เป๊ะๆ ครับ ต่างกันแค่ว่าไม่มีเงินทดแทนกรณีว่างงานครับ ถ้าอยากทราบรายละเอียดว่าแต่ละความคุ้มครองได้เป็นเงินเท่าไหร่ มีเงื่อนไขอย่างไร สามารถกดเข้าไปอ่านในแต่ละหัวข้อด้านบนได้เลยนะครับ
ลาออกจากงาน ประกันสังคมคุ้มครองกี่เดือน
ถ้าหากท่านเคยเป็นพนักงานประจำนั่นหมายความว่าท่านเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา33 มาก่อนแล้ว ในกรณีที่มีเหตุให้ต้องออกจากงาน ท่านก็จะยังสามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่อไปได้อีกเป็นเวลา 6 เดือนครับ ไม่เกินนี้ ถ้าหากยังอยากที่จะรักษาสิทธิไว้ตามมาตรา 39 ก็จะต้องไปติดต่อสำนักงานประกันสังคมและสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ครับ
สมัครประกันสังคม มาตรา39 ยังไง สมัครออนไลน์ได้มั้ย
ถ้าต้องการจะสมัครประกันสังคม มาตรา 39 เราไม่สามารถสมัครทางออนไลน์ได้ครับ หากท่านใดที่ลาออกจากงานมาแล้ว ไม่เกิน 6 เดือน ท่านต้องไปติดต่อสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ที่ท่านสะดวกเพื่อขอสมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ครับ โดยจะต้องเตรียมเอกสารดังนี้
- แบบฟอร์มคำขอเป็นผู้ประกันตน มาตรา39(สปส.1-20)
- บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอย่างอื่นที่มีรูปถ่าย(ราชการออกให้เท่านั้น)
- (*ถ้าต้องการจ่ายเงินสมทบโดยหักบัญชีเงินฝาก) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้สมัคร
ประกันสังคม มาตรา39 ขาดส่ง ยังได้รับความคุ้มครองมั้ย
ในกรณีที่บางท่านขาดส่ง ไม่ได้จ่ายเงินประกันสังคม มาตรา 39 ไป ไม่ต้องตกใจครับ ยังพอมีทางแก้ไขได้ เงื่อนไขของการสิ้นสภาพผู้ประกันตนในมาตรา 39 ที่เกี่ยวข้องกับการขาดส่งคือ
- ไม่ส่งเงินสมทบเป็นเวลา 3 เดือน ติดต่อกัน(สิ้นสภาพตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ)
- ถ้าภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน
เรื่องการลืมหรือขาดส่งเงินสมทบนั้นอาจเกิดขึ้นได้ครับ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้นถ้าคุณขาดส่งไป 1 หรือ 2 เดือนก็ยังไม่ถูกตัดสิทธินะครับ ให้รีบติดต่อสำนักงานประกันสังคมเพื่อดำเนินการจ่ายให้ครบตามกฎเกณฑ์ซะ ถ้ารอให้เกิน 3 เดือนติดต่อกันท่านอาจจะหมดสิทธิประกันสังคมที่สมัครไว้แต่แรกได้ครับ
ประกันสังคม มาตรา39 กับ 40 ต่างกันยังไง
ความต่างระหว่างประกันสังคม มาตรา39 และ 40 ก็คือ ท่านจะต้องเป็นพนักงานหรือลูกจ้าง(ผู้ประกันตนมาตรา33) มาก่อนถึงจะสมัครเข้ามาตรา39 ได้ แต่ว่า ประกันสังคม มาตรา40 มีไว้สำหรับแรงานนอกระบบหรืออาชีพอิสระ,ฟรีแลนซ์ต่างๆ ที่อยากจะมีสิทธิประกันสังคมไว้ช่วยในเวลาที่ต้องการโดยที่ไม่ได้เคยเป็นพนักงานหรือลูกจ้างที่ไหนมาก่อน หรือขาดส่งประกันสังคมมาเป็นระยะเวลานานจนไม่สามารถเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้ครับ โดยที่ประกันสังคมมาตรา 40 ก็จะมีรูปแบบให้เลือกจ่ายและได้รับความคุ้มครองที่ต่างกันในแต่ละแบบครับ
ประกันสังคมมาตรา 39 กับการคลอดบุตร
พ่อแม่มือใหม่ที่เป็นผู้ประกันตนมาตรา39 หลายๆคนที่วางแผนจะมีลูก กำลังจะคลอดหรือคลอดแล้ว อาจจะกำลังมีคำถามสงสัยในใจนะครับว่า ถ้าเราเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 เราจะสามารถขอเบิกสิทธิอะไรได้บ้าง เกี่ยวกับการคลอดบุตร จะได้เงินค่าคลอดบุตรเท่าไหร่ เงินสงเคราะห์บุตร และเงินชดเชยสำหรับการลาคลอดได้มั้ย
คำตอบก็คือได้ครับ ผู้ประกันตนในมาตรา 39 ก็สามารถเบิกเงินค่าคลอดบุตรได้ 13,000 บาท ต่อการคลอดบุตร 1 ครั้งเหมือนผู้ประกันตนมาตรา33(พนักงานประจำ) แต่อาจจะมีความต่างตรงเงินส่วนที่เรียกว่า “เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร” ครับ เพราะว่าเงินส่วนนี้ถ้าอยู๋ในมาตรา 33 ของพนักงานประจำ ประกันสังคมจะคิดให้เราในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เป็นเวลา 90 วันโดยเฉลี่ย โดยปกติถ้าเป็นพนักงานประจำเราก็จะมีเรทค่าจ้างที่เราได้รับแตกต่างกันไปในแต่ละที่ทำงานถูกมั้ยครับ เงินตรงส่วนนี้ก็จะคิดตามรายได้ที่เราได้นั่นเองสำหรับคนทำงานประจำ
แต่สำหรับผู้ประกันตนในมาตรา 39 สำนักงานประกันสังคมจะใช้ฐานเงิน(สมมุติว่าเป็นเงินเดือน) 4,800 บาทในการคำนวณการจ่ายเงินสมทบของเราครับ จึงทำให้เวลาที่เราจะได้รับเงินชดเชยอะไรจากประกันสังคมก็จะถูกคิดโดยใช้เงินเดือน 4,800 บาทที่ว่านี้ไปด้วย ลองมาคำนวณกันดูครับว่า ถ้าเราเป็นฟรีแลนซ์เราจะได้เงินชดเชยการหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเป็นจำนวณเงินเท่าไหร่
4,800 บาท x 50% = 2,400 บาท/เดือน
โดยจะได้รับเงินนี้เป็นระยะเวลา 90 วัน = 2,400 บาทx3เดือน = 7,200 บาทนั่นเองครับ เวลาเราไปติดต่อสำนักงานประกันสังคม เจ้าหน้าที่ก็จะชี้แจงให้ฟังประมาณนี้ ว่าเราจะได้เงินค่าคลอดบุตร และ เงินชดเชยสงเคราะห์หยุดงานเพื่อการคลอดบุตร รวมๆแล้วก็น่าจะเป็นจำนวณประมาณสองหมื่นบาทต้นๆ ครับ
- ประกันสังคมมาตรา 33 สำหรับพนักงาน/ลูกจ้าง
- ประกันสังคมมาตรา 39 ฟรีแลนซ์/คนที่ลาออกจากงานประจำ/โดนให้ออกจากงาน
- ประกันสังคมมาตรา 40 หลักประกันสำหรับคนทำอาชีพอิสระ พ่อค่า แม่ค้า
- สิทธิบัตรทอง 30 บาท รักษาทุกโรค|หลักประกันสุขภาพสำหรับคนไทยทุกคน
- 4 บริษัทประกันภัย/ประกันสุขภาพที่ดีที่สุด 2021 !
สรุปแล้วประกันสังคมมาตรา 39 นี่เป็นหลักประกันสุขภาพสำหรับคนที่เคยทำงานประจำแต่โดนให้ออกจากงาน หรือลาออกจากงานมาแล้วและยังอยากที่จะรักษาสิทธิการรักษาพยาบาลในส่วนของประกันสังคมไว้ด้วย ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วผมว่าคุ้มค่ามากๆนะครับที่จะมีไว้ ด้วยค่าใช้จ่ายเพียงเดือนละไม่กี่ร้อย จ่ายไว้เพื่อเป็นหลักประกันในการรับบริการทางการแพทย์์ที่จำเป็น ยิ่งถ้าจะต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องและมีราคาแพงแล้วล่ะก็ ยังไงก็คุ้มแน่นอนครับ
คุ้มครองกรณีเจ็บป่วย
รักษาพยาบาลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่ต้องสำรองจ่ายเงินเอง แต่เราจะต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลที่เราเลือกไว้ตามสิทธิ(หรือในเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้น)เท่านั้นนะครับถึงจะแน่ใจได้ว่าไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลต่างๆด้วยตัวเอง
เบิกค่าคลอดบุตรประกันสังคมมาตรา 39 ได้มั้ย?
คำตอบก็คือได้ครับ ผู้ประกันตนในมาตรา 39 ก็สามารถเบิกเงินค่าคลอดบุตรได้ 13,000 บาท ต่อการคลอดบุตร 1 ครั้งเหมือนผู้ประกันตนมาตรา33(พนักงานประจำ) แต่อาจจะมีความต่างตรงเงินส่วนที่เรียกว่า “เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร” ครับ เพราะว่าเงินส่วนนี้ถ้าอยู๋ในมาตรา 33 ของพนักงานประจำ ประกันสังคมจะคิดให้เราในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เป็นเวลา 90 วันโดยเฉลี่ย โดยปกติถ้าเป็นพนักงานประจำเราก็จะมีเรทค่าจ้างที่เราได้รับแตกต่างกันไปในแต่ละที่ทำงานถูกมั้ยครับ เงินตรงส่วนนี้ก็จะคิดตามรายได้ที่เราได้นั่นเองสำหรับคนทำงานประจำ
แต่ในสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 สำนักงานประกันสังคมจะใช้ฐานเงิน(สมมุติว่าเป็นเงินเดือน) 4,800 บาทในการคำนวณการจ่ายเงินสมทบของเราครับ จึงทำให้เวลาที่เราจะได้รับเงินชดเชยอะไรจากประกันสังคมก็จะถูกคิดโดยใช้เงินเดือน 4,800 บาทที่ว่านี้ไปด้วย ลองมาคำนวณกันดูครับว่า ถ้าเราเป็นฟรีแลนซ์เราจะได้เงินชดเชยการหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเป็นจำนวณเงินเท่าไหร่
4,800 บาท x 50% = 2,400 บาท/เดือน
โดยจะได้รับเงินนี้เป็นระยะเวลา 90 วัน = 2,400 บาทx3เดือน = 7,200 บาทนั่นเองครับ เวลาเราไปติดต่อสำนักงานประกันสังคม เจ้าหน้าที่ก็จะชี้แจงให้ฟังประมาณนี้ ว่าเราจะได้เงินค่าคลอดบุตร และ เงินชดเชยสงเคราะห์หยุดงานเพื่อการคลอดบุตร รวมๆแล้วก็น่าจะเป็นจำนวณประมาณสองหมื่นบาทต้นๆ ครับ
6 thoughts on “ประกันสังคม มาตรา39 ปี 2564: ลาออก/โดนให้ออกจากงาน แต่ยังได้รับสิทธิประกันสังคมเหมือนเดิม”