หัวข้อน่าสนใจ
DeFi คืออะไร
DeFi คือโลกของบริการทางการเงินที่ไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการควบคุมและดำเนินการนั่นเอง ซึ่งจะทำงานอัตโนมัติอยู่บนเครือข่าย Blockchain
ซึ่งหลักๆแล้วเมื่อก่อนจะเป็น Ethereum Blockchain เพราะสามารถนำระบบ Smart Contract เข้ามาควบคุมการทำงานทุกอย่างให้เป็นไปโดยอัตโนมัติได้
แต่ก็มี Platform DeFi เจ้าใหม่ๆที่เกิดขึ้นมาและทำงานอยู่บนสายข้อมูล Blockchain อื่นๆเหมือนกันนะครับเช่น Binance Smart Chain ซึ่งนับว่าได้รัความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยบริการที่หลากหลายและค่าธรรมเนียมที่ถูก
DeFi ย่อมาจาก Decentralized Finance แปลตรงๆว่าระบบการเงินที่ไร้ศูนย์กลาง ซึ่งถูกออกแบบมาให้ทำงานแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องมีพนักงานมานั่งคอยทำงานให้
และด้วยความเป็นอัตโนมัติของ DeFi นี่ล่ะที่ทำให้คนทั่วๆไปอย่างเราเพิ่มโอกาสลงทุนแบบ Passive Income ได้ และสร้างผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจและสามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
บริการทางการเงินของ DeFi ในปัจจุบันแทบจะมีทุกอย่างเหมือนกับบริการทางการเงินในโลกปัจจุบัน
ไม่ว่าจะเป็นการฝากเงิน(Wallet), การกู้ยืม(Lending),การจำนองหรือค้ำประกัน(Collateral),การให้ดอกเบี้ย,การเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน(Liquidity)
และยังแตกขแนงไปในแบบอื่นๆอีก เช่น บริการประกันภัยต่างๆ หรือแม้แต่ผู้ให้บริการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล(Decentralized Exchanges) ที่ทำงานอยู่บนพื้นฐานของระบบ Automated Market Maker(AMM)
ตัวอย่าง DeFi
เพื่อให้เห็นภาพง่ายๆ เรามาลองดูบริการทางการเงินของธนาคารในปัจจุบันกันครับ
การบริการทางการเงินในสมัยก่อนจนถึงปัจจุบันจะต้องอาศัยธนาคารมาเป็นตัวกลางที่ทุกคนให้ความเชื่อถือ เพื่อนำเงินฝากของแต่ละคนไปทำประโยชน์
ซึ่งอาจจะเป็นการนำเงินไปลงทุนด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้ผลตอบแทน,การปล่อยสินเชื่อและรับดอกเบี้ยกลับมา
เมื่อได้ผลตอบแทนกลับมาไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทนจากการลงทุนหรือดอกเบี้ยก็จะนำมาหักค่าใช้จ่ายต่างๆและจ่ายคืนเป็นดอกเบี้ยเงินฝากประจำปีให้กับเจ้าของเงินฝาก
หรืออาจจะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการการลงทุนด้วยกองทุนรวม โดยพวกเขาจะขายหน่วยลงทุนให้นักลงทุน เพื่อนำเงินไปลงทุนในกองทุนประเภทต่างๆ อาจจะเป็นหุ้น,ตราสารหนี้ หรืออะไรก็ตามแต่
และเมื่อได้ผลตอบแทนก็จะเอามาเฉลี่ยจ่ายคืนให้นักลงทุนตามสัดส่วนหน่วยลงทุนที่ซื้อไว้นั่นเองครับ
การบริการให้กู/ยืม ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่โลก DeFi นำมาจากโลกการเงินจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมเพื่อให้นักลงทุนรายย่อยนำเงินไปลงทุนสร้างผลตอบแทน
รวมไปถึงปล่อยกู้เพื่อให้สถาบันการเงินและ Exchanges นำไปใช้เสริมสภาพคล่อง(Liquidity) ในตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น PancakeSwap
โรงรับจำนำก็คืออีกตัวอย่างของบริการทางการเงินประเภทนึงในโลกของ DeFi ซึ่งก็มีผู้ให้บริการบางรายให้บริการจำนองสินทรัพย์ดิจิทัล
โดยนำสินทรัพย์ที่มีค่ามาค้ำประกันการยืม ซึ่งสินทรัพย์ที่ผู้ยืมจะนำไปค้ำจะต้องมีมูลค่ามากกว่าสินทรัพย์ที่ต้องการจะยืมออกมา
เช่นเหรียญดิจิทัลประเภท Stablecoin ชื่อ DAI ของผู้ให้บริการชื่อ MakerDAO เปิดให้คนนำเหรียญ Ether (ETH) มูลค่า 1.5 เท่าของเหรียญ DAI มาค้ำประกันเพื่อยืมเหรียญ DAI ออกไป
อาจจะนำไปใช้ลงทุน,เก็งกำไร หรือใช้จ่ายอย่างอื่นก็แล้วแต่ เช่น เราต้องการจะใช้เหรียญ DAI มูลค่า $100 เราก็ต้องนำเงิน Ether มูลค่า $150 ไปค้ำประกัน เพื่อที่จะได้เงิน DAI ออกมาใช้ประโยชน์
การค้ำประกันการกู้ยืมอีกรูปแบบนึงที่เริ่มมีให้บริการก็คือการนำผลงาน Non-Fungible Token(NFT) มาค้ำประกันการกู้เงินดิจิทัล
ซึ่งเป็นอีกความก้าวหน้าอย่างนึงของโลก DeFi เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้คนนำสินทรัพย์ดิจิทัลที่คือครองอยู่มาใช้เพื่อการลงทุนโดยไม่จำกัดแค่การใช้เงินสดดิจิทัลอย่างเดียว
นี่คือตัวอย่างคร่าวๆของ DeFi ครับ และต้องย้ำกันอีกทีว่าการดำเนินการธุรกรรมทุกๆอย่างที่ว่ามาตามตัวอย่างนี้ทั้งหมดดำเนินการโดยระบบอัตโนมัติ ไม่มีมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้อง และไม่ถูกควบคุมโดยตัวกลางอย่างธนาคาร
หรืออาจจะเรียกอีกอย่างได้ว่าเป็น Decentralized Autonomous Organization(DAO) ซึ่งถ้าศึกษาโลกของ DeFi ไปเรื่อยๆเราจะเจอคำนี้บ่อยขึ้น
ส่วนประกอบของโลกการเงิน DeFi
DeFi นั้นเปรียบเสมือนโลกของบริการทางการเงิน การลงทุนสมัยใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าในโลกของการเงินนั้นจะต้องมีส่วนประกอบหลายๆอย่างมารวมกัน เพื่อให้เกิดเป็นระบบนิเวศน์(Eco system) ที่จะขับเคลื่อนให้มีการหมุนเวียนของสินทรัพย์ต่างๆเหมือนระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ซึ่งการที่จะทำให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจและเม็ดเงินต่างๆในโลกของ DeFi ก็จะต้องอาศัยส่วนประกอบพื้นฐานดังต่อไปนี้
- Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐาน)
- Stablecoin (เหรียญดิจิทัลมูลค่าคงที่)
- Financial Services (บริการทางการเงิน)
Infrastructure
ด้วยความที่ DeFi เป็นโลกการเงินที่ดำเนินการทุกอย่างด้วยระบบอัตโนมัติและกำจัดตัวกลางเดิมๆอย่างธนาคารออกไป จึงทำให้ต้องมีระบบอะไรบางอย่างมาเป็นรากฐานให้กับเครือข่าย DeFi
ซึ่งระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องนำมาใช้จะต้องเป็นในลักษณะการเขียน Program ขึ้นมาให้สามารถทำงานอัตโนมัติได้ตามนโยบายของผู้ให้บริการ DeFi แต่ละเจ้า โดยที่ไม่ต้องมีพนักงานมานั่งดำเนินการอะไรให้
ระบบที่ถูกนำมาใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับโลก DeFi ก็คือ Ethereum Blockchain นั่นเองครับ เพราะระบบ Ethereum Blockchain รองรับการเขียน Smart Contract ใส่ลงไปในการบริการของ DeFi
ซึ่งตัว Smart Contract จะเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขการบริการต่างๆ เช่น อัตราดอกเบี้ย,หรือกฎเกณฑ์การค้ำประกัน การกู้ยืม,ระยะเวลาการฝาก/ถอน ต่างๆ
เพียงแค่ลูกค้าศึกษานโยบายการลงทุนของ DeFi แต่ละเจ้าให้เข้าใจ แล้วนำสินทรัพย์ดิจิทัลของท่านเข้าไปฝาก ก็จะได้รับผลตอบแทนตามนโยบายของผู้ให้บริการ DeFi นั้นๆ
เมื่อเราได้รู้แล้วว่าโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังของโลก DeFi คือ Smart contract ที่เป็นเหมือนตัวกำหนดเส้นทางการไหลของเงินทุนในระบบ
คราวนี้เรามาดูกันต่อครับว่า ตัวเงินที่เปรียบเสมือนเม็ดเลือดที่ไหลเวียนทำงานอู่ยู่ข้างในระบบนั้นมันมีอะไรที่จำเป็นบ้าง และส่วนประกอบที่จำเป็นอีกส่วนนึงก็คือเหรียญ Cryptocurrency ที่มีมูลค่าแน่นอนอย่าง Stablecoin นั่นเอง
Stablecoin
แน่นอนครับ ว่าเมื่อ DeFi นั้นเป็นระบบการเงิน มันก็ต้องการเงินหมุนเวียนภายในระบบ ซึ่งเงินที่ว่านั้นก็จะต้องเป็นเงินดิจิทัล ซึ่งควรจะต้องเป็นเงินดิจิทัลที่คนให้ความเชื่อถือและสามารถรักษามูลค่าของตัวมันเองได้ดีด้วย
เงินดิจิทัลที่จะถูกนำมาใช้ในระบบการเงินแบบ DeFi ก็หนีไม่พ้นที่จะต้องเป็นเหรียญ Stablecoin เพราะมีมูลค่าคงที่ เชื่อถือได้ ไม่ผันผวน
ซึ่งความคงที่ของราคานี่ล่ะเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับระบบการเงินที่ต้องการความน่าเชื่อถือและต้องการความสามารถในการรักษามูลค่าของสินทรัพย์ต่างๆในระบบได้
เพราะ DeFi จริงๆแล้วไม่ได้จำกัดอยู่แค่ระบบการเงินสำหรับลงทุนอย่างเดียวเท่านั้นนะครับ ความสามารถของระบบการเงินแบบ DeFi ยังสามารถนำมาใช้แทนระบบการเงิน ที่เราโอน/รับ/จ่ายค่าสินค้าและบริการในปัจจุบันได้อีกด้วย
ในทางกลับกันถ้านำสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆเช่น Bitcoin หรือ Ethereum มาใช้เป็นตัวหลักในโลกการเงิน หรือใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมูลค่าก็คงจะวุ่นวายน่าดูเพราะราคาของสินทรัพย์ดิจิทัลพวกนี้ถึงแม้ว่าจะมีมูลค่าสูง แต่ก็ผันผวนอย่างมากเหมือนกัน ราคาตลาดแทบจะเปลี่ยนรายนาทีกันเลยทีเดียว
Stablecoin โดยทั่วไปก็คือเหรียญดิจิทัลที่ถูกผูกมูลค่าไว้กับเงินดอลล่าห์สหรัฐ ทุกๆ 1 เหรียญจะมีค่าประมาณ 1 USD เสมอๆ
ตัวอย่างเช่นสกุลเงิน USDC,USDT,BUSD แต่ปัญหาอย่างหนึ่งของ Stablecoin เหล่านี้ก็คือพวกมันยังถูกควบคุมดูแลโดยสถาบันการเงินต่างๆอยู่ดี ซึ่งขัดกับจุดประสงค์ของ Decentralized Financial Service จึงเป็นจุดกำเนิดของ Stablecoin สกุลนึงขึ้นมาชื่อว่า DAI
เหรียญ DAI เป็น Stablecoin ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยบริษัท MakerDao ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ้าแรกๆที่เป็นผู้ร่วมบุกเบิกโลกการเงิน DeFi
DAI ถูกสร้างมาด้วยเป้าหมายที่จะส่งเสริมโลกการเงินไร้ศูนย์กลางอย่าง DeFi โดยแท้จริง
เพราะคุณสมบัติของตัวเหรียญ DAI เองคือ มีมูลค่าคงที่ประมาณ 1 USD อยู่ตลอดเวลาและไม่ได้ถูกควบคุมโดยสถาบันการเงินเหมือนกับ Stablecoin สกุลอื่นๆ(ใช้เงินคริปโตฯค้ำประกัน)
อย่างที่เรารู้กันว่า Stablecoin ทั่วๆไปนั้นมักจะถูกผลิตออกมาโดยองค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับโลกการเงินปัจจุบัน หรืออย่างน้อยก็คือจะต้องนำเงินหรือทรัพย์สินเทียบเท่าไปฝากไว้กับสถาบันการเงิน
ซึ่งถึงแม้ว่า Stablecoin เหล่านั้นจะเป็น Cryptocurrency แต่มูลค่าของพวกมันก็ยังถูกควบคุมโดยตัวกลางอยู่ดี
DAI จึงเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ได้อย่างตรงจุด เพราะเหรียญ DAI เป็นเหรียญ Stablecoin ประเภท Algorithmic On-chain Backed ทำงานด้วยกลไกตรึงราคาอัตโนมัติด้วย Smart contract และค้ำประกันด้วยเงิน Cryptocurrency (ไม่ผูกมูลค่ากับเงินสดในปัจจุบัน)
อธิบายง่ายๆคือ ถึงแม้ว่ามูลค่าของเหรียญจะถูกตรึงไว้ที่ประมาณ 1 USD ตลอดเวลา แต่ว่ามูลค่าของเหรียญ DAI กลับไม่ได้ถูกผูกไว้กับเงินสดดอลล่าห์สหรัฐครับ
DAI ไม่ต้องใช้การฝากเงินกับสถาบันการเงินภายใต้การควบคุมของรัฐ เพื่อค้ำประกันมูลค่า
การตรึงราคาจะใช้กลไกลภายใน Cryptocurrency เพื่อควบคุมปริมาณของเหรียญ ซึ่งจะมีผลมาถึงการควบคุมมูลค่าราคา
การที่เราจะได้เหรียญ DAI ออกมาใช้ จะต้องใช้เงิน Cryptocurrency ชนิดอื่นตามนโยบายที่ MakerDAO ยอมรับ ซึ่งจะต้องใช้เหรียญมูลค่ามากกว่า(ประมาณ 1.5 เท่า) มาฝากค้ำประกันถึงจะได้เงิน DAI ออกมา
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการเหรียญ DAI มูลค่า $100 คุณอาจจะต้องฝากเหรียญ Ether เข้าไป $150 เพื่อเป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน
จะเห็นว่าเหรียญ DAI มีความเหมาะสมมากที่จะนำมาใช้ในโลกการเงินแบบ Decentralized เพราะตัวมันไม่ได้ถูกควบคุมโดยสถาบันการเงิน หรือผูกมูลค่าไว้กับเงินสดในโลกปัจจุบัน
แต่ DAI จะใช้เหรียญ Crypto ที่ระบบให้การยอมรับมาเป็นตัวค้ำประกันไว้ และควบคุมมูลค่าเหรียญด้วย Smart contract
แต่อย่างไรก็ตาม การใช้งานเงินดิจิทัลในโลกของ DeFi ก็ไม่ได้ถูกจำกัดแค่เหรียญ DAI ชนิดเดียวเท่านั้นนะครับ สามารถนำสินทรัพย์ดิจิทัลในแบบอื่นๆมาใช้ได้ด้วยเหมือนกัน
เพียงแต่การใช้ Stablecoin จะช่วยจำกัดความเสี่ยงในการสูญเสียมูลค่าของเงิน และรักษากำลังซื้อ(Purchasing Power)ของเงินชนิดนั้นๆไว้ได้โดยง่ายเท่านั้นเองครับ
Financial Services
เมื่อมีทั้งโครงสร้างพื้นฐาน(Infrastructure)สำหรับระบบทั้งระบบแล้ว มีเงิน(Currency)ที่จะมาใช้หมุนเวียนในระบบแล้ว
ที่เหลือก็คือการบริการต่างๆ(Financial Services)ที่จะถูกสร้างขึ้นมาจากปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้
ซึ่งก็แล้วแต่ว่าผู้ให้บริการ DeFi เจ้าไหนจะเล็งเห็นถึงประโยชน์และสร้างสรรค์บริการต่างๆขึ้นมาเพื่อตอบสนองและสร้างมูลค่า
ไม่ว่าจะเป็นกระดานซื้อขาย(Decentralized Exchanges)ที่ทำงานด้วยระบบ Automated Market Maker(AMM),ระบบการจ่ายเงิน(Payment System) ต่างๆ,Platform การกู้ยืม,การลงทุนใน Liquidity pool, Yield Farming ต่างๆ
บริการการเงิน DeFi มีอะไรได้บ้าง
หลังจากที่รู้จักส่วนประกอบที่จะต้องมีสำหรับโลกการเงิน DeFi กันแล้ว คราวนี้เรามาดูกันว่าเมื่อทุกๆอย่างมาประกอบรวมกันมันจะสามารถสร้างสรรค์บริการทางการเงินแบบไหนขึ้นมาได้บ้าง
และที่สำคัญคือบริการแต่ละอย่างสามารถสร้างประโยชน์ให้ผู้ใช้และนักลงทุนยังไงได้บ้าง?
โลกของ DeFi ในปัจจุบันยังเป็น Ecosystem การเงินที่เพิ่งเกิดมาได้ไม่นาน บริการส่วนใหญ่ก็จะเน้นไปทางด้านการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทน หรือซื้อขาย/แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล ตัวอย่างดังนี้ครับ
- Decentralized Exchanges(กระดานซื้อขาย)
- Stablecoin(เหรียญมูลค่าคงที่)
- Lending Platform(บริการกู้ยืมเงิน)
- DeFi Insurance(ธุรกิจประกัน)
- Yield Farming(หรือ Liquidity Mining)
Decentralized Exchanges
Decentralized Exchanges(เรียกย่อว่า DEX) ซึ่งก็คือผู้ให้บริการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล”โดยไร้ศูนย์กลาง ไม่มีใครมีอำนาจควบคุมเบ็ดเสร็จอยู่ที่จุดๆเดียวนั่นเองครับ
โดยที่ระบบการซื้อขายทุกอย่างจะดำเนินการอัตโนมัติบนเครือข่ายสายข้อมูล Blockchain และถูกควบคุมการดำเนินธุรกรรมต่างๆด้วยระบบอัตโนมัติผ่านคำสั่งและเงื่อนไขที่เขียนไว้บน Smart contract
Stablecoin
ปัญหาหลักๆในโลกของสินทรัพย์ดิจิทัล และ Cryptocurrency ในปัจจุบันก็คือความผันผวนของราคา
ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่เข้ามาในโลกของเงินดิจิทัลตอนนี้ก็มักจะเป็นการเข้ามาเพื่อเก็งกำไรจากความผันผวนนี้ ยิ่งทำให้ราคาของสินทรัพย์ดิจิทัลแต่ละตัวผันผวนหนักขึ้นไปอีก
ซึ่งความผันผวนของมูลค่านี่ล่ะครับเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งที่ทำให้เงินดิจิทัลยังไม่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพราะเจ้าของเงินจะไม่รู้เลยว่าเงินที่ตัวเองถืออยู่ตอนนี้จะมีมูลค่าเท่าไหร่ในอีก 3 หรือ 5 นาทีข้างหน้า อาจจะมีมูลค่าน้อยลงหรือมากขึ้นก็ได้
แต่ในโลกของการบริการทางการเงิน,การลงทุน,การค้ำประกัน หรือประกันภัยต่างๆนั้น มีความต้องการที่จะต้องใช้สินทรัพย์อะไรบางอย่างที่มีมูลค่าคงที่ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและเชื่อมันใจในแง่ของมูลค่าที่นำมาเป็นตัวกลางเพื่อคิดคำนวนผลตอบแทนกำไรขาดทุนของการลงทุนหรือสินค้าการเงินแต่ละประเภท
และที่สำคัญก็จะต้องเป็นเงินในแบบที่ทำงานได้ด้วยกันกับเทคโนโลยี Blockchain นั่นเอง เจ้าเหรียญ Stablecoin สกุลต่างๆจึงถือกำเนิดขึ้นมา เพื่อเป็นกลไกสำคัญในโลก DeFi
เหรียญ Stablecoin มีหลายสกุลครับ แต่ที่นิยมและใช้กันแพร่หลายก็เช่น USDC,USDT,DAI,BUSD ซึ่งเหรียญแต่ละสกุลถูกผลิตออกมาเพื่อวัตถุประสงค์การใช้งานต่างๆกัน
แน่นอนว่าถ้าหากต้องการจะสร้างผลตอบแทนได้ดี เราก็ควรจะเข้าใจว่าเหรียญแต่ละสกุลนั้นสร้างมาเพื่ออะไร และควรจะใช้มันลงทุนในด้านใด
Lending Platform
การบริการทางการเงินในแบบ Decentralized ก็ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่กระดานซื้อขายนะครับ
ในปัจจุบันก็ยังมีการบริการ DeFi ในรูปแบบ Money Market ที่มาช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องของการกู้ยืม เช่น Compound ที่จะช่วยจับผู้ที่ต้องการจะกู้(Borrower) และ ผู้ปล่อยกู้(Lender) มาเจอกัน
เพื่ออำนวยความสะดวกให้ทั้ง 2 ฝ่ายโดยที่ตัดตัวกลางอย่างธนาคารออกไป ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่มาคอยตรวจสอบข้อมูลและให้บริการ
ด้วยความที่ไม่ต้องมีตัวกลาง ก็เลยทำให้ลดต้นทุนและเวลาลงไปได้มาก เพราะธุรกรรมทุกอย่างจะดำเนินไปโดยอัตโนมัติด้วย Smart contract ส่งผลให้ผู้ที่ต้องการจะกู้ก็จะได้เงินที่มีต้นทุนดอกเบี้ยต่ำไปลงทุนหรือทำประโยชน์อย่างอื่น
ส่วนผู้ให้กู้ก็จะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเต็มเม็ดเต็มหน่วย และสามารถใช้บริการได้ตลอด ไม่มีเวลาเปิดปิดเหมือนสถาบันการเงินในปัจจุบัน
DeFi Insurance(บริการธุรกิจประกัน)
ในปัจจุบันหากใครอยากทำประกันก็จะต้องติดต่อบริษัทประกันภัย เพื่อเป็นตัวกลางในการเก็บเงินเบี้ยประกัน มีพนักงานคอยรับเรื่อง,ตรวจสอบ และจ่ายเบี้ยประกันเมื่อลูกค้าต้องการจะทำการเคลมสินไหมใช่มั้ยครับ
แต่ในบางประเทศ ปัจจุบันก็เริ่มที่จะมีบริการประกันภัยในลักษณะ DeFi เกิดขึ้นมาแล้ว และดำเนินงานด้วยระบบอัตโนมัติทั้งหมดด้วย Smart contract ซึ่งก็อาจจะยังไม่แพร่หลายไปในทุกผลิตภัณฑ์ของประกันภัยซักเท่าไหร่
ผลิตภัณฑ์ประกันในโลก DeFi ปัจจุบันจะเน้นหนักไปในเรื่องของการประกันสินทรัพย์ดิจิทัลครับ เนื่อจากปัญหาที่ว่าสินทรัพย์ชนิดนี้เป็นสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นมาใหม่ รวมถึงบริการ DeFi ต่างๆก็เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ แถมยังมีมิจฉาชีพเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ จึงมีผู้ให้บริการ DeFi เสนอการประกันภัยทรัพย์สินขึ้นมา
บริการประกัน DeFi จะเป็นลักษณะคล้ายๆ Lending Platform นั่นแหละครับ ซึ่งก็จะจับคน 2 ฝ่ายมาเจอกันคือ ผู้ที่ต้องการจะซื้อประกันภัย และ ผู้ที่ต้องการจะนำเงินมาลงทุนเพื่อเป็นทุนประกันและได้รับค่าตอบแทนเป็นค่า Premium จากผู้ซื้อประกัน
ซึ่งก็แน่นอนครับ ว่าธุรกิจการประกันแบบ DeFi นี้ก็จะไร้ตัวกลางเหมือนกัน ไม่ต้องมีมนุษย์หรือบริษัทไหนเข้ามาควบคุมแม้แต่บริษัทที่คิดค้นผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ขึ้นมา
เพราะขั้นตอนการรับประกัน,การจ่ายเบี้ยประกันเมื่อเกิดเหตุต่างๆ และการแจกจ่ายผลตอบแทน ก็ดำเนินการไปโดยอัตโนมัติด้วยเงื่อนไขที่ระบุไว้บน Smart contract ตั้งแต่แรกซึ่งไม่สามารถแก้ไขหรือทุจริตได้ ในอนาคตคงจะได้เห็นการขยายตัวของธุรกิจประเภทนี้มากขึ้น
Yield Farming หรือ Liquidity Mining
ปกติเราจะเป็นฝ่ายเสียค่าธรรมเนียมให้ Exchanges หรือผู้ให้บริการ Swap ใช่มั้ยครับ อยากลองเปลี่ยนฝั่งมาเป็นคนเก็บค่าธรรมเนียมจากพวกนี้ดูบ้างมั้ย?
Yield Farming หรือบางคนเรียกว่าการฟาร์มเหรียญ คือการนำ Cryptocurrency ของคุณมาวางไว้กับผู้ให้บริการการลงทุน เพื่อให้เหรียญดิจิทัลของคุณสร้างผลตอบแทนเป็นกำไรกลับมาในรูปแบบ Passive Income ซึ่งถือเป็นการลงทุนอีกรูปแบบหนึ่งในโลกของ Decentralized Finance(DeFi)
ที่ใช้คำศัพท์เรียกการลงทุนแบบนี้ว่า ฟาร์ม(Farm) ก็เพราะว่ามันเป็นการเปรียบเทียบการนำเงินของคุณมาลงทุนไว้ ให้เงินทำงานแล้วรอเก็บผลตอบแทน เหมือนกับการหว่านเมล็ด ปลูกพืช ทำฟาร์มเพื่อรอเก็บผลผลิตนั่นเองครับ
การลงทุนในลักษณะนี้อาจจะไม่ได้ทำกำไรหวือหวาเหมือนกับการซื้อขายรายวัน(Day trade) หรือการเล่น Leverage ที่ใช้ความผันผวนของราคาสินทรัพย์ดิจิทัลมาทำกำไร แต่ก็มีผลตอบแทนที่ค่อนข้างแน่นอนและได้ผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงินในธนาคารอยู่พอสมควร
เคยสงสัยมั้ยครับ ว่าเวลาที่เราเข้าไปซื้อ Cryptocurrency หรือทำการ Swap สินทรัพย์ดิจิทัลอะไรซักอย่างนึงจาก Exchanges เจ้าต่างๆเค้าไปเอามาจากไหนมาขายให้เราได้เรื่อยๆขนาดนั้น
จริงอยู่ครับว่าส่วนหนึ่งก็มาจากนักลงทุนที่เสนอขายเหรียญดิจิทัลของตัวเองไปบนกระดานซื้อขาย แต่อีกส่วนหนึ่งก็มาจากแหล่งเงินทุนที่เรียกว่า Liquidity Provider หรือผู้ให้บริการเพิ่มสภาพคล่องนั่นเองครับ ที่จะคอยหาแหล่งเงินดิจิทัลทุนมาเพื่อหมุนเวียนในระบบ คอยป้อนให้ Exchanges หรือนักลงทุนที่ต้องการนำเงินไปทำประโยชน์อีกต่อนึง
ผู้ให้บริการ Liquidity หรือ Yield Farming จะเปิดให้คนทั่วๆไปหรือแม้แต่สถาบันการเงินนำสินทรัพย์ดิจิทัลชนิดต่างๆเข้ามาฝาก(หรือ Lock) ไว้ในระบบ ไม่ว่าจะเป็น Bitcoin,Ether,เหรียญ Stablecoin ชนิดต่างๆ และอื่นๆ เพื่อนำไปปล่อยให้กับผู้ให้บริการ Exchanges นำไปปล่อยขายให้ลูกค้านักลงทุนรายย่อยซื้ออีกทีนึง
สังเกตุมั้ยครับ ทุกๆครั้งที่นักลงทุนรายย่อยอย่างเราๆมีการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลบนกระดานเทรด หรือมีการโอนเงินดิจิทัลจากกระเป๋านึง ไปอีกกระเป๋านึง เราจะต้องมีการเสียค่าธรรมเนียม(GAS)ให้ Exchange อยู่ทุกๆครั้งเป็นรายได้ส่วนหนึ่งของ Exchange
นั่นก็เพราะผู้ให้บริการ Exchange เค้าก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียม,ค่าบริการให้ Liquidity Provider อีกทีนึงนั่นเอง ซึ่งก็อาจจะมีส่วนต่างนิดหน่อยเป็นกำไรให้ Exchange
ทุกครั้งที่ Exchanges หรือผู้กู้เงิน นำเงินจาก Liquidity provider ไปใช้ ก็จะมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายๆต่างๆแล้วแต่นโยบายของแต่ละเจ้า ตัวอย่างเช่น ค่าธรรมเนียม,ดอกเบี้ย และอื่นๆ ซึ่งรายได้เหล่านี้แหละครับเมื่อได้รับมาแล้ว ทาง Liquidity Provider หรือผู้ให้บริการการลงทุนต่างๆก็จะนำมาจ่ายคืนให้กับนักลงทุน Yield Farming ที่นำเงินมาฝากไว้ เพื่อเป็นผลกำไรนั่นเอง
ถึงแม้ว่าการทำ Yield Farming จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการเก็งกำไร และสามารถบริการจัดการความเสี่ยงได้จนแทบจะไม่เสี่ยงเลยหากมีความรู้ความเข้าใจ แต่ก็มีการการโกงจาก Platform ให้เห็นกันอยู่บ่อยๆครับ
ซึ่งถ้าเราเลือกลงทุนกับ Platform ที่เชื่อถือได้ รู้จักเลือกลงทุน ก็จะสามารถลดความเสี่ยงเรื่องนี้ไปได้เยอะ รวมถึงถ้าเรามีความรู้เรื่อง Smart contract ก็จะทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลของเราปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
รายได้ DeFi มาจากไหน
หลักๆแล้วผู้ให้บริการ DeFi ทำรายได้จากค่าบริการ,ค่าธรรมเนียม และดอกเบี้ย ในระบบการเงินดิจิทัล หลังจากได้รายได้เหล่านี้มาแล้ว ก็จะมากระจายต่อให้นักลงทุนตามแต่นโยบายของ DeFi แต่ละเจ้า
ด้วยความที่โลกของสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นทำงานอยู่บนระบบ Blockchain รวมถึงการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ทางการเงินการลงทุนต่างๆล้วนแต่ถูกสร้างขึ้นมาบนเครือข่ายบล็อคเชนเจ้าต่างๆ ทำให้สามารถตัดตัวกลางอย่างสถาบันการเงินออกไปได้
ซึ่งการทำธุรกรรมทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น โอนเงิน,รับเงิน ,การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์จาก Exchanges, การแลกเปลี่ยนสกุลเงิน(Swap) ล้วนแล้วแต่ต้องดำเนินการผ่านกระบวนการ Proof Of Wok/Proof Of Stake ด้วยการทำงานอัตโนมัติของ Smart contract
ค่าธรรมเนียมทั้งหลายที่เกิดขึ้นในระบบ ก็จะถูกส่งไปให้ Node หรือผู้มีส่วนร่วมต่างๆในระบบเบื้องหลังการทำงานของโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้
ซึ่งถ้าใครที่ได้อ่านและเข้าใจว่าระบบเบื้องหลังของโลก Cryptocurrency เช่น Blockchainคืออะไร,Smart contract ทำงานยังไง, Proof Of Stake คืออะไร,AMM คืออะไร และสร้างโอกาสในการลงทุนยังไง ก็จะเริ่มเห็นภาพและเข้าใจว่าโลกของ DeFi มีรายได้ที่มีที่มาที่ไปอย่างสมเหตุสมผลครับ
จะลงทุนใน DeFi ต้องรู้อะไรบ้าง
หากใครที่สนใจเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ขั้นตอนแรกก็คือจะต้องเข้าไปเลือกซื้อจากผู้ให้บริการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ กลต. ให้การรับรอง หลังจากนั้นแล้วแต่ครับว่าแต่ละคนมีความต้องการที่จะลงทุนในลักษณะไหน บางคนอาจจะชอบซื้อ/ขาย ทำกำไร จะเล่น Future หรือ Leverage ก็แล้วแต่วิธีที่ถนัด
แต่สำหรับใครที่ต้องการลงทุนแบบ Passive Income ในโลกของ DeFi คุณก็จะต้องมีความรู้ในเรื่องต่างๆเพิ่มขึ้นมานิดหน่อยครับ ตัวอย่างเช่น
ต้องรู้จักใช้ Wallet เก็บเงินให้ปลอดภัย
สำหรับคนที่ซื้อ Cryptocurrency จาก Exchange เพื่อซื้อขายเก็งกำไรบนกระดานเทรดคุณสามารถเก็บเหรียญดิจิทัล เหล่านั้นทิ้งไว้บน Exchange ได้เลย ยิ่งถ้าเป็นผู้ให้บริการที่ได้รับการรับรองจาก กลต. ก็สามารถมั่นใจได้ว่าเงินเราได้รับการดูแลรับผิดชอบอย่างปลอดภัย
แต่หากคุณต้องการจะก้าวไปลงทุนแบบ Passive Income กับ DeFi เจ้าต่างๆคุณจะต้องรู้ว่าจะดูแลตัวเองยังไง
เพราะในปัจจุบันผู้ให้บริการ DeFi ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ให้บริการต่างประเทศ ทำให้เราต้องโอนเงินไปเก็บไว้ในกระเป่าตังค์(Wallet) ซะก่อน ซึ่งในขั้นตอนแรกคุณจะต้องทำความรู้จักกระเป๋าสตางค์ หรือ Wallet ไว้สำหรับเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลให้ปลอดภัยครับ
ซึ่ง Wallet สำหรับ Cryptocurrency ก็จะมีด้วยกันหลักๆ 2 แบบ คือ Hot-wallet(เชื่อมต่อกับโลกอินเตอร์เน็ต) และ Cold-Wallet(ไม่เชื่อมต่อกับโลกอินเตอร์เน็ต)
Wallet แต่ละประเภทก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปครับ แต่ถ้าจะปลอดภัยสุดๆก็น่าจะเป็น Cold-wallet ซึ่งแทบจะไม่มีโอกาสโดน Hack เลย เพียงแต่เราต้องรู้จักวิธีใช้และจำรหัส(Private key) ให้ได้เท่านั้น
อีกอย่างนึงที่จะต้องรู้เกี่ยวกับ Wallet ก็คือ Private key และ Public key
Private key: คือรหัสเปิดกระเป๋าเรา เวลาอยากจะนำเงินออกไปใช้เราจะต้องใส่รหัส Private key เพื่อเปิดกระเป๋าตังค์
Public key: คือเลขระบุกระเป๋าเราครับ เรียกอีกอย่างว่า Address เวลาที่จะมีใครโอนเงินเข้ามาที่กระเป๋า เราจะต้องบอกเลข Private key นี้ให้เค้าเพื่อที่คนโอนจะได้โอนเข้ามาให้ถูกกระเป๋า ซึ่งปัจจุบันมีกรณีโอนผิดมาหลายครั้งแล้วนะครับเพราะใส่ Address ผิดและกลายเป็นสูญเสียเงินนั้นไปเลย
รู้จัก Stablecoin
เหรียญ Cryptocurrency ประเภท Stablecoin ทั้งหลาย เช่น USDC,USDT,BUSD,DAI เป็นเงินดิจิทัลประเภทหลักๆเลยที่ใช้ลงทุนในโลกของ DeFi
เพราะด้วยคุณสมบัติที่ได้เขียนถึงไปก่อนหน้านี้ว่าในโลกของการลงทุนแบบ DeFi นั้นต้องการสินทรัพย์ที่สามารถวางใจในเรื่องของการรักษามูลค่าได้ดี และเหมาะกับมือใหม่หรือนักลงทุนที่ทำงานประจำเพราะไม่ยุ่งยาก
เหรียญประเภท Stablecoin แต่ละสกุล ถึงแม้ว่าจะเป็นเหรียญดิจิทัลที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกันแต่ก็มีความแตกต่างกันในเรื่องของที่มาที่ไป,เหตุผลที่ถูกผลิตขึ้นมา,ระบบการทำงาน และความน่าเชื่อถือ
ส่งผลไปถึงความเป็นที่ต้องการของตลาดและความนิยมนำมาใช้ ซึ่งแน่นอนว่ามีผลในเรื่องของอัตราผลตอบแทนในการลงทุนแน่นอน
ถึงแม้ว่าจะดูเหมือนเป็นสกุลเงินดิจทัลที่ดูไม่มีอะไร เพราะไม่ได้ขึ้นลงรุนแรงมีสีสันเหมือนเหรียญชนิดอื่น แต่การเกิดขึ้นมาของเหรียญมูลค่าคงที่เหล่านี้ มันมีสาเหตุและที่มาที่ไป
เพราะฉะนั้น การศึกษาทำความรู้จัก Stablecoin ให้ดีก็ถือเป็นอีกโอกาสนึงของการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนเหมือนกัน
แต่การลงทุนใน DeFi ก็ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ว่าจะต้องใช้เหรียญ Stablecoin มาลงทุนเท่านั้นนะครับ เพราะก็มี Platform การลงทุนอีกหลายๆ Platform ที่เปิดให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลชนิดอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น และมาพร้อมกับผลตอบแทนที่มากขึ้น
แน่นอนว่า ยิ่งเสี่ยงมากเราก็ต้องระวังมาก โดยเฉพาะในเรื่องของความผันผวนของราคาสินทรัพย์ดิจิทัลชนิดต่างๆ หากเราไม่ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ จากที่จะทำกำไรเยอะๆ อาจจะไม่ได้เยอะอย่างที่คาดไว้ หรือแย่ไปกว่านั้นอาจจะกลายเป็นขาดทุนไปเลยก็ได้
รู้จัก Impermanent Loss
(ไม่เหมาะสำหรับมือใหม่หรือนักลงทุนที่ทำงานประจำ)
หากใครที่อยากลงทุน DeFi ในแบบที่ซิ่งๆหน่อย คือได้รับผลตอบแทนมากขึ้น เพราะว่ามีความเสี่ยงมากขึ้นก็อาจจะเลือกลงทุนด้วยคู่เหรียญที่ไม่ใช่ Stablecoin ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องพบเจอกับความผันผวนของราคา
เวลาที่เราฝากเหรียญลงทุน(Lock) ไว้กับผู้ให้บริการเพื่อทำการลงทุนแล้ว ในระหว่างนั้นเหรียญดิจิทัลชนิดนั้นๆอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาดได้ครับ เพราะ Cryptocurrency ราคาเปลี่ยนแปลงแทบจะทุกนาที
และการเปลี่ยนแปลงของราคานี่ล่ะครับ มีผลทำให้มูลค่าของเหรียญดิจิทัลของเราที่นำไปฝากลงทุนไว้มันขึ้นๆลงๆ และอาจจะทำให้ทุนเราหายไปได้ด้วยเหตุผลบางประการ
และในทางกลับกันมันก็อาจจะมีมูลค่าตีกลับขึ้นมาได้เหมือนกัน จึงเรียกว่า Impermanent(ที่แปลว่า ชั่วคราว)
สำหรับเรื่องของ Impermanent Loss เราจะขอเขียนแนะนำไว้คร่าวๆเพียงเท่านี้ก่อนครับ เพราะสำหรับบทความนี้มีเป้าหมายคือแค่ขอให้ตระหนักไว้ก่อนว่า ถ้าเราจะลงทุน DeFi แบบที่ไม่ใช่ Stablecoin เราจะต้องรู้ว่าเรากำลังเสี่ยงกับอะไร
แต่สำหรับใครที่เป็นมือใหม่ เป็นนักลงทุนทั่วๆไป ที่ทำงานประจำหรือมีกิจการส่วนตัวและแบ่งเงินมาลงทุนให้เงินทำงานสร้างผลตอบแทน ยังไงก็แนะนำว่าควรจะลงทุน DeFi ด้วย Stablecoin จะดีกว่าครับ เพราะผลตอบแทนที่ได้ก็ไม่ใช่น้อย แถมเรายังไม่ต้องมานั่งกังวลด้วย
แต่หากใครคิดจะลงทุน DeFi เป็นอาชีพและมีความรู้ความเข้าใจอย่างจริงจัง อยากจะเพิ่มโอกาสในการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนมากขึ้น และพร้อมรับความเสี่ยงได้มากขึ้น การเลือกลงทุนด้วยเหรียญประเภทอื่นๆก็อาจจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจครับ
รู้จักการคิดค่าธรรมเนียม(GAS)
สำหรับใครที่สนใจจะนำเงินดิจิทัลไปลงทุนในรูปแบบ Passive Income บน Platform DeFi ก็มักจะต้องพบเจอกับขั้นตอนที่มากกว่าแค่การซื้อสินทรัพย์ดิจิทัลบนกระดานเทรดแล้วขายออกที่กระดานเทรดเดียวกัน
เพราะหลังจากที่เราได้ซื้อเหรียญดิจิทัลตัวที่เราต้องการมาแล้ว เราจะต้องนำเหรียญนั้นๆโอนไปเข้า Platform ของผู้ให้บริการลงทุน DeFi อีกที ซึ่งในการโอนแต่ละครั้งก็จะต้องมีการเสียค่าธรรมเนียม(GAS) ทั้งตอนโอนเข้า และถอนออก รวมถึงถ้าจะต้องมีการเปลี่ยนสกุลเงิน(Swap)
แต่ไม่ต้องห่วงครับ เพราะมันก็ไม่ได้ซับซ้อนมากขนาดนั้น สามารถเรียนรู้กันได้ไม่ยากเพราะการทำธุรกรรมแต่ละครั้งก็จะมีค่าธรรมเนียม(GAS)ระบุไว้ค่อนข้างชัดเจน สามารถประเมินและวางแผนก่อนได้
แต่ถ้าใครไม่อยากจะวุ่นวายกับเรื่องการคิดค่าธรรมเนียมหลายๆต่อเลือกโอนเหรียญดิจิทัลของเราไปลงทุนกับผู้ให้บริการรายใหญ่ๆที่มีบริการเกี่ยวกับ Cryptocurrency ครบวงจร จะทำให้เราแทบจะไม่ต้องวุ่นวายกับการหา Platform และมาวางแผนเรื่องค่าธรรมเนียม(GAS)
เพราะในบริการของเจ้าใหญ่ๆ เพียงเราฝากเงินเข้าไปและก็เลือกบริการ อาจจะเป็นการ Earn,Pool หรือ DeFi Staking ก็แล้วแต่ว่าเค้าจะตั้งชื่อว่าอะไร เพียงเท่านี้เงินดิจิทัลของเราก็จะเริ่มทำงานสร้างผลตอบแทนให้เราได้ด้วยอัตราที่น่าพอใจแล้วครับ
ได้กำไรจากการลงทุนใน DeFi แล้วก็อย่าลืมแบ่งเงินมาซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีด้วยนะครับ ช่วยประหยัด แถมได้ลงทุนอีกต่อนึง
กระจายความเสี่ยงในการลงทุนและลดหย่อนภาษีด้วยกองทุนประเภทต่างๆ
- คู่มือกองทุนรวมฉบับมือใหม่ เข้าใจง่าย กำไรยั่งยืน
- 5 วิธีง่ายๆ เลือกกองทุนรวม ทำตามนี้รับรองเลือกถูก!
- สร้าง Passive Income ด้วยการลงทุนในตราสารหนี้
- กองทุนรวมตราสารหนี้คืออะไร ทำไมถึงน่าสนใจ?
ความเสี่ยงของ DeFi
หลังจากที่เราได้รู้จักแล้วว่า DeFi คืออะไร ควรต้องรู้อะไรบ้าง และมันสร้างโอกาสในการลงทุนให้คนทั่วๆไปได้ยังไง เรามาลองดูความเสี่ยงของการลงทุนในลักษณะนี้ดูบ้างครับ
ในปัจจุบันโลกการเงิน DeFi ยังอยู่ในช่วงเพิ่งเกิดใหม่ เพราะมันเพิ่งมาเริ่มเป็นที่รู้จักในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมานี้เอง และก็มีผู้ให้บริการเกิดใหม่มาเรื่อยๆด้วยผลตอบแทนที่สูงจนแทบจะดูดีเกินไป
ต้องยอมรับจริงๆว่า ผู้ให้บริการ DeFi บางเจ้าที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ มักจะมีชื่อที่ไม่คุ้นหูและดูน่าสงสัยว่า “มันจะโกงเรารึเปล่า” ซึ่งบางเจ้าก็โกงจริงๆ เสนอผลตอบแทนการลงทุนสูงๆให้คนที่ไม่รู้ ฝากเงินเข้าไปแล้วซักพักเชิดเงินหนีเลย
และด้วยความที่มันเป็น Decentralized และยังไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายซักเท่าไหร่ พอเงินหายไป หลายๆคนอาจจะไม่ได้เงินก้อนนั้นกลับมาเลยก็ได้ เพราะไม่รู้จะไปทวงกับใคร
แต่สำหรับคนที่ชำนาญและมีความรู้ในเรื่อง Blockchain และ Smart contract ที่นิยมออกไปลงทุนแบบ “สายซิ่ง” คนพวกนี้เค้าจะรู้ว่ากำลังเล่นอยู่กับอะไร บางทีชักเงินออกทัน หรือบางทีโดนขโมยเงินไปแล้วแต่ก็สามารถเขียนคำสั่งเข้าไปที่ Smart contract เพื่อเอาเงินกลับมาได้
สำหรับมือใหม่ หรือคนที่ทำงานประจำอยู่แล้วอยากนำเงินมาลงทุนใน DeFi ให้เงินทำงานเพื่อที่จะไปสู่อิสระภาพทางการเงิน ก็แนะนำว่าให้เน้นความปลอดภัยเป็นหลักครับ ลงทุน DeFi ด้วย Stablecoin กับผู้ให้บริการที่เชื่อถือได้ มีวินัยเติมการลงทุนเข้าไปเรื่อยๆ รอให้ดอกเบี้ยทบต้นทำงาน แค่นั้นก็สามารถพาทุกท่านไปสู่อิสระภาพทางการเงินได้เหมือนกัน